ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์
ประวัติของเพียเจต์
จอร์น เพียเจต์ (ค.ศ.1896 - 1980) ผู้สร้างทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญา เพียเจย์เป็นนักจิตวิทยาชาวสวิส ได้รับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ สาขาสัตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยNeuchatel ประเทศสวิสเซอร์แลนด์และได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไรโดยตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
แนวคิด
การเรียนรู้ของเด็กจะเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะเป็นไปตามวัยเป็นลำดับขั้น เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งเพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก ในวัยอนุบาลเป็นช่วงพัฒนาความจำและจินตนาการการคิดยังไม่ได้ใช้หลักเหตุผลและผล ยังไม่ได้คิดย้อนกลับ ยังยึดตนเองเป็นหลักในการเรียนรู้ (Egocentric Thinking)
กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
1.การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
2.การปรับและจัดระบบ (accommodation) เป็นกระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่
3.การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้
1) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.1) ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motorb Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี
1.2) ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น
· ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เด็กอายุ 2-4 ปี
· ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ (Intuitive Thought) เด็ก อายุ 4-7 ปี
1.3 ) ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี
1.4 ) ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี
เพียเจต์ ( Piaget) ได้นำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่งขั้นพัฒนาจริยธรรมออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้
ขั้นก่อนจริยธรรม
ขั้นยึดคำสั่ง
ขั้นยึดหลักแห่งตน
ประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences)
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition)
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree)
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation)
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function)
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation)
2) ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
เพียเจต์สรุปว่า
พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม
วีดีโอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น