ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
ประวัติของซิกมันต์ฟรอยด์
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นนายแพทย์ จิตแพทย์ และนักจิตวิทยาชาวออสเตรียเกิดเมื่อวันที่ 06 พฤษภาคม ค.ศ. 1856และเสียชีวิตเมื่อวันที 23 กันยายน ค.ศ. 1939 เป็นผู้สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ซึ่งเป็นทฤษฎีทางด้านการพัฒนา Psychosexual
ฟรอยด์เชื่อว่า บุคลิกภาพ ของผู้ใหญ่ที่แตกต่างกันก็เนื่องจากประสบการณ์ของแต่ละคนในวัยเด็ก และขึ้นอยูกับเด็กแต่ละคนแก้ปัญหาของความขัดเเย้งของแต่ละวัยอย่างไร โดยอายุ 0-6 ปี มีความสำคัญมาก
ฟรอยด์ยังแบ่งกระบวนการคิด ออกเป็น 2 ลักษณะ
1. Secondary Process เป็นกระบวนการคิดที่เราคุ้นเคยและใช้กันอยู่ ในระดับจิตสำนึกและจิตก่อนสำนึกมีกระบวนการคิดเช่นนี้ เป็นการคิดที่ยึดเหตุผล มองสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง (reality principle) เช่น คนเราบางครั้งผิดหวังและบางครั้งก็มีสมหวัง หรือสิ่งที่ต้องการบางอย่างอาจต้องรอคอยบ้าง
2. Primary Process เป็นกระบวนการคิดในระดับจิตไร้สำนึก วิธีคิดเป็นแบบเด็ก ๆ ไม่เป็นเหตุเป็นผล ไม่สนใจเรื่องเวลาหรือสถานที่ สิ่งที่ต้องการคือความสุข ความสมหวัง ซึ่งหากต้องการก็จะต้องได้รับการตอบสนองทันทีจึงจะพอใจ โดยไม่คำนึงว่าผลตามมาจะเป็นอย่างไร (pleasure principle)
ตัวอย่างที่เห็นชัดได้แก่การฝัน ซึ่งเหตุการณ์ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้ สิ่งที่อยู่คนละมิติ คนละเวลากัน สามารถมาอยู่ด้วยกันได้ หากนึกถึงอะไรก็จะได้สิ่งนั้น
ฟรอยด์ได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางเพศไว้ 5 ขั้นตอน คือ
1.ขั้นความสุขความพอใจบริเวณปาก (oral stage) อายุ 0-2 ปี ความพึงพอใจของวัยนี้จะอยู่ที่บริเวณช่องปาก ทารกพึงพอใจกับการใช้ปากทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสุข เช่น การดูด กลืน
2.ขั้นความสุขความพอใจบริเวณทวารหนัก (anal stage) อายุอยู่ในช่วง 18 เดือน ถึง 3 ปี วัยนี้จะได้รับความพึงพอใจจากการขับถ่าย
3.ขั้นความพอใจบริเวณอวัยวะเพศ (phallic or oedipal stage) จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3 ถึง 5 ปี ความพึงพอใจของเด็กวัยนี้อยู่ที่อวัยวะสืบพันธุ์ เด็กจะสนใจอวัยวะเพศของตนและสนใจความความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย
4.ขั้นแฝงหรือขั้นก่อนวัยรุ่น (latency stage) มี อายุอยู่ในช่วง 6 ถึง 12 ปี ฟรอยด์กล่าวว่าเด็กวัยนี้จะมุ่งความสนใจไปที่พัฒนาการด้านสังคมและด้านสติ ปัญญา เป็นวัยที่พร้อมจะเรียนรู้การมีเหตุผล รู้ผิดชอบชั่วดี สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
5.ขั้นสนใจเพศตรงข้ามหรือขั้นวัยรุ่น (genital stage) วัยนี้เป็นวัยรุ่นเริ่มตั้งแต่อายุ 13-18 ปี เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้าม มีแรงจูงใจที่จะรักผู้อื่น มีความต้องการทางเพศ ความเห็นแก่ตัวลดลงต้องการเป็นอิสระจากพ่อแม่ เป็นระยะเริ่มต้นของวัยผู้ใหญ่
โครงสร้างบุคลิกภาพ (The personality structure)
ฟรอยด์มีความเชื่อว่า ลักษณะจิตใจของบุคคลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1.อิด (Id) เป็นเสมือนแรงจูงใจที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นความต้องการของร่างกาย
2.อีโก้ (Ego ) เป็นสิ่งที่จะทำให้อิดบรรลุตามจุดมุ่งหมาย
3.ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนที่เป็นมโนธรรมและศีลธรรม
การ ทำงานของคนทั้ง 3 ประการจะพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลให้เด่นไปด้านใดด้านหนึ่งของทั้ง 3 ประการนี้ แต่บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ คือ การที่บุคคลสามารถใช้พลังอีโก้เป็นตัวควบคุมพลังอิด และซูเปอร์อีโก้ให้อยู่ในภาวะที่สมดุลได้
กลไกในการป้องกันตัวเอง (Defense Mechanism)
1. การไม่ตัดสินใจเลือกข้างใดข้างหนึ่ง (Ambivalence)
2. ปฏิกิริยาการหลบหนี (Avoidance)
3. การหยุดนิ่งไม่เปลี่ยนแปลง (Fixation)
4. การเลียนแบบ (Identification)
5. การกล่าวโทษผู้อื่นหรือการโยนความผิดให้แก่ผู้อื่น (Project)
6. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction Formation)
7. การเก็บกด (Repression)
8. การขจัดความรู้สึก (Suppression)
9. การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization)
10. การชดเชยหรือการทดแทน (Substitution/Compensation)
11. การถดถอย (Regression)
12. การสร้างวิมานในอากาศ หรือการฝันกลางวัน (Fantasy / Day Dreaming)
13. การแยกตัว (Isolation)
14. การแทนที่ (Displacement)
15. การไม่ยอมรับความจริง (Denial of Reality)
16. การแสดงความก้าวร้าว (Aggression)
กลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) จึงเป็นวิธีการปรับตัวในระดับจิตไร้สำนึก กลไกในการป้องกันตัวมักจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของบุคคลปกติทุกวัย ตั้งแต่อนุบาลจนถึงวัยชรา เป็นวิธีการที่บุคคลใช้ในการปรับตัว เมื่อประสบปัญหาความคับข้องใจ การใช้กลไกป้องกันตัวจะช่วยยืดเวลาในการแก้ปัญหา เพราะจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด ความไม่สบายใจ ทำให้คิดหาเหตุผลหรือแก้ไขปัญหาได้ในที่สุด
วีดีโอที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น